วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีที่ช่วยให้สตรีได้พบความผิดพลาดของเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
1.สิ่งผิดปกติที่จะต้องรีบปรึกษาแพทย์
2.พบก้อนหรือเนื้อที่เป็นไตแข็งผิดปกติ
3.มีน้ำเหลือง และเลือดไหลจากหัวนม
4.ผิวหนังบริเวณเต้านมมีรอยบุ๋ม
5.หัวนมถุงดึงรั้งจนผิดปกติ
6.เต้านมทั้งสองข้าง ไม่อยู่ในระดับเดียวกัน
7.ขนาด และรูปร่างต่างกันอย่างผิดปกติ
ในการตรวจเต้านมควรทำอย่างสม่ำเสมอ โดยตรวจเพียงเดือนละครั้ง ควรเลือกใช้เวลาช่วงสั้นๆ ที่ท่านว่าง และเลือกสถานที่ที่จะไม่มีผู้อื่นมารบกวน ห้องน้ำหรือห้องนอนเป็นสถานที่ที่เหมาะสม แต่ควรมีกระจกเงาที่จะช่วยให้สามารถมองเห็นเต้านมของท่านได้เป็นอย่างดี
ระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำการตรวจ คือ ภายหลังหมดประจำเดือนแต่ละเดือน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าวเต้านมจะมีลักษณะอ่อนมากกว่าระยะเวลาอื่น และถึงแม้ว่าท่านจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว ท่านก็ควรจะตรวจเต้านมของท่านอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการตรวจ 3 ท่า
วิธีที่ 1 ยืนหน้ากระจก
1.1 ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย เปรียบเทียบเต้านม ทั้งสองข้างว่ามีการบิดเบี้ยว ของหัวนมหรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และบีบหัวนมดูว่ามีของเหลวไหลออกมาหรือไม่
วิธีที่ 2. นอนราบ
2.1 นอนในท่าสบาย ตรวจเต้านมขวา ให้สอดหมอนหรือ ม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา
2.2 ยกแขนขวาเหนือ ศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้น แผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำก้อนเนื้อได้ง่าย โดยเฉพาะส่วยบนด้านนอกมีเนื้อนมหนามากที่สุด และเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด
2.3 ใช้กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย (นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง) คลำทั่วทั้งเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือ ห้ามบีบเนื้อเต้านมเพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมซ้าย
วิธีที่ 3. ขณะอาบน้ำ
3.1 สำหรับผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็ก ให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบนศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำในทิศทางเดียวกับที่คุณใช้ในในท่านอน
3.2 สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้น ประคองและตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำจากด้านบน
วิธีการคลำ 3 แบบ
แบบที่ 1 การคลำในแนวก้นหอย โดยเริ่มจากคลำส่วนบนเต้านมไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่งถึงฐานเต้านมบริเวณรอบรักแร้
แบบที่ 2 การคลำในแนวรูปลิ่ม เริ่มคลำส่วนบนของเต้านมจนถึงฐาน แล้วกลับขึ้นสู่ยอดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนทั่วทั้งเต้านม
แบบที่ 3 การคลำในแนวขึ้นลงจากใต้เต้านมถึงกระดูกไหปลาร้า เริ่มคลำจากใต้เต้านมถึงกระดูกไหปลาร้า แล้วขยับนิ้วทั้งสามคลำในแนวขึ้นและลงสลับกันไปเรื่อยๆ จนทั่วทั้งเต้านม
วิธีการกด 3 ระดับ
1. กดเบาๆ เพื่อให้รุ้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง
2. กดปานกลาง เพื่อให้รู้สึกถึงกึ่งกลางของเต้านม
3. กดหนักขึ้น เพื่อให้รู้สึกได้ถึวส่วนลึกใกล้ผนังปอด
ผู้หญิงกับการดูแลเต้านมด้วยตนเอง
* อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน
* ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีวัยที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน
* ก้อนที่คลำได้บริเวณเต้านมไม่ใช่ถุงน้ำหรือเนื้องอกธรรมดาเสมอไป อาจจะเป็นมะเร็งเต้านมได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
* สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งเต้านมควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น